หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล วังใต้ ใช้คุ้กกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้
ยอมรับ
 
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
   
 
 
 
 
การเผาป่า
 

ไฟป่าหมอกควันเริ่มห้ามเผาเมื่อไหร่

เขียนโดย   คุณ มาริโอ้

วันที่ 26 ม.ค. 2566 เวลา 11.47 น. [ IP : 1.1.220.134 ]  
 

4 จังหวัดภาคเหนือ ลงนามร่วมแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า-ฝุ่นละออง พร้อมกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิด ดีเดย์ 15 ก.พ. - 30 เม.ย.66
กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ถกแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่า พร้อมกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิด ดีเดย์ 15 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2566 ผู้ว่าฯเชียงใหม่ เผยทั้ง 4 จังหวัดลงนามความร่วมมือแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละออง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วันนี้(25 พฤศจิกายน 2565) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 พร้อมด้วยนายชัชวาล ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง, นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ร่วมประชุมหารือแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เพื่อบูรณาการการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ร่วมกัน ที่ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
พร้อมกันนี้ทั้ง 4 จังหวัด ได้ร่วมกันกำหนดช่วงเวลาห้ามเผาในที่โล่งทุกชนิด ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2566 รวมเป็นระยะเวลา 75 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่สภาพอากาศค่อนข้างนิ่งกว่าปกติ
ทั้งนี้จะมีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงโดยหน่วยงานภาครัฐ และในพื้นที่ที่มีการลงทะเบียนของจังหวัดเท่านั้น ซึ่งจะได้มีการกำหนดวันเวลาในการเริ่มเผาและดับ รวมถึงขอบเขตพื้นที่ให้ชัดเจน ทั้งยังจะได้มีการประชุมหารือแนวทางการทำงาน และจัดกิจกรรมร่วมกัน ทั้งการลาดตระเวน การทำแนวกันไฟ ซึ่งหากเกิดไฟป่าในเขตพื้นที่รอยต่อจะได้มีการบูรณาการการปฏิบัติงานดับไฟป่าร่วมกัน โดยในขณะนี้ได้มีข้อมูลรายชื่ออำเภอที่มีพื้นที่ป่ารอยต่อระหว่าง 4 จังหวัดไว้พร้อมแล้ว
นอกจากนี้ทั้ง 4 จังหวัดยังจะได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงกลไกความร่วมมือกับทุกภาคส่วน พร้อมถ่ายทอดข้อมูลสถิติต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) และค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) ร่วมกัน เพื่อสามารถเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ทั้งยังมีการเข้มงวดแหล่งกำเนิด PM2.5 แหล่งอื่น ๆ เช่น รถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และเขตก่อสร้าง เพื่อควบคุมไม่ให้ค่าคุณภาพอากาศ (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินค่ามาตรฐาน

  
  


เขียนโดย   คุณ นางปณิตา พิจอมบุตร

วันที่ 27 ม.ค. 2566 เวลา 09.42 น. [ IP : 1.1.220.134 ]  
 
     
: รายละเอียด  
 
: ชื่อผู้เขียน  
 
 
  กรุณาเลือก "ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ"
 
 
 
 
  (1)